ราชินีแห่งดอกไม้เมืองร้อน


เมื่อสมัยที่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำได้ว่าได้เรียนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่องหนึ่งคือ ดอกชบา ความเป็นจริงจุดมุ่งหมายของเรื่องไม่ได้เจาะจงที่ดอกชบาเพียงอย่างเดียว หากแต่ใช้เพื่อสื่อความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆ ของพืช ดอกชบาได้รับการขนานนามว่า ราชินีแห่งดอกไม้เมืองร้อน (Queen of Tropical Flower) เพราะมีความงามที่โดดเด่น ประเทศมาเลเซียและประเทศจาไมกา ใช้ดอกชนิดนี้เป็นดอกไม้ประจำชาติ (แท้จริงแล้วดอกชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศจีน) ในหลักความเชื่อของศาสนาฮินดูนั้นถือว่าดอกชบาเป็นดอกไม้ของเจ้าแม่กาลี จุดเด่นของพืชชนิดนี้ คือ มีเส้นใยที่มียางเมือก (Mucilaginous) อยู่ในเนื้อไม้ ลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ทำให้มีรูปร่างหลายแบบ เช่น วงกลม วงรี รูปไข่ หรือ รูปเว้า มีกลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอก มี 2 เพศในดอกเดียว โดยสังเกตได้ดังนี้เกสรเพศผู้ มีส่วนประกอบ คือ อับเรณูสีเหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย จะอยู่ที่ปลายหลอดเกสรเพศผู้ มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียออกเป็น 5 ยอด ซึ่งบ่งบอกถึงจำนวนห้องในรังไข่ ส่วนปลายยอดมีน้ำหวานจับที่ละอองเรณูดอกชบาแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ 1. ดอกบานรูปถ้วย 2. ดอกบานรูปแผ่แบน 3. กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Hibiscus syriacus L.; Hibiscus chinenis DC.
ภัฑรกิจ ไชยถา
ถ่ายภาพ:เขียน