"ชุมชน" (Community) เป็นหน่วยย่อยของสังคมที่ใหญ่ขึ้นเป็นลำดับที่
3 จาก บุคคล (Person) และ ครอบครัว (Family)
ตามลำดับ ดังนั้น
การทำงานร่วมกับชุมชนจึงต้องคำนึงถึงหน่วยย่อยลำดับที่ 1
และหน่วยย่อยลำดับที่ 2 เป็นสำคัญ
เพราะการทำงานกับชุมชนต้องอาศัยแนวความคิดที่หลากหลายจากบุคคล
ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวเดียวกัน ครอบครัวต่อครอบครัว
หรือ ครอบครัวต่อหลายๆ ครอบครัว วิธีการที่จะให้ปัจจัยต่าง ๆ (Factors) เหล่านี้เป็นกลไกในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
(Change) ในทางที่ดีกว่า หรือ เรียกว่า "การพัฒนา"
(Development) นั้น ผู้ดำเนินการในเวทีเสวนา (Dialogue)
หรือ เวทีชาวบ้าน ต้องเข้าใจพื้นฐาน หรือ บริบทของชุมชนนั้น ๆ
เสียก่อน แล้วจึงค่อยใช้วิธีสอบถามแนวความคิด อาจใช้วิธีการที่เรียกว่า "Metaplan"
หรือ "เทคนิคบัตรคำ"
โดยการให้แต่ละคนช่วยกันเขียนสิ่งที่เขาต้องการให้เกิดการพัฒนาต่อชุมชนในอนาคต (Future)
แล้วนำมาวิเคราะห์ (Analysis) และสังเคราะห์ (Synthesis)
หาคำสำคัญ (Keyword) ที่คล้ายกันเพื่อขมวดแล้วร้อยเรียงเป็นถ้อยคำต่อไป
อีกวิธีการหนึ่งที่ใช้ได้ผลและมีประสิทธิภาพ (Efficiency) สูง คือ
เทคนิคการจดบันทึกด้วย "แผนภูมิความคิด" หรือ "Mind
Mapping" วิธีการนี้ผู้ดำเนินการจะเป็นผู้คอยจดบันทึกคำพูดของผู้พูดทุกคนตามประเด็นหัวข้อ
(Main Idea) ทั้งหัวข้อหลัก และ หัวข้อย่อย ไปเรื่อยๆ โดยการเขียนแบบแผนภูมิ
ทำให้เกิดการบันทึกแบบไร้ขีดจำกัด และมีความน่าสนใจ สามารถต่อเติมได้ทุกเมื่อ
ที่สำคัญผู้ดำเนินการต้องทำตัวเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พูดสามารถแสดงความคิดได้อย่างอิสระ สองเทคนิคนี้เป็นเพียงบางส่วนในการทำงานร่วมกับชุมชนเท่านั้น
หากแต่ยังมีอีกหลายเทคนิคที่สามารถนำมาทำงานร่วมกับชุมชนได้ (ถ้าสนใจลองศึกษาดูนะครับ)